วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Containerization


Containerization

 Bulk cargo   สินค้าเทกอง คือสินค้าที่ขนส่งคราวละมากๆ โดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า ใช้วิธีขนส่งโดยเทสินค้าลงในระวางเรือใหญ่ เช่น ปุ๋ย มันสำปะหลัง น้ำตาล ถ่านหิน

Charter กฎบัตร คือ ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ

Broken stowage คือ พื้นที่ๆสูญเสียไปจากการจัดเรียง o Lashing –การที่นำเชือกมายึดCargo ไว้เพื่อไม่ให้สินค้าหล่น เป็นการ Secure สินค้า.

Ship broker คือ ผู้แทนของบริษัทเดินเรือนายหน้าซื้อขายเรือผู้ทำการประกันภัยทางทะเล

Belly cargo คือ การขนส่งทางช่อง
Back Freight คือ การส่งคืนสินค้ากลับต้นทาง

Ship’s master คือ ต้นแบบของเรือ

Partial shipment (การส่งสินค้าเป็นบางส่วน) คือ การที่ผู้ขายสามารถจะเลือกทยอยส่งสินค้าให้ผู้ซื้อได้หลายเที่ยวจนกว่าจะหมดหรือจะส่งทั้งหมดก็ย่อมได้

Cargo carrier คือ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า

Dangerous goods   สินค้าอันตราย หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของที่โดยคุณสมบัติของมันเองก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัย หรือทรัพย์สินได้ การขนส่งทางอากาศกระทำได้โดยจำกัด ปริมาณการบรรจุตามวิธีการบรรจุที่ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขนส่ง สินค้าอันตราย ซึ่งการจัดประเภทของสินค้าอันตรายถูกกำหนดจากลักษณะของความอันตรายของสาร นั้น        

Demurrage การจอดเรือเกินกำหนด เก็บค่าจอดเกินเวลา

Less than container load(LCL)ตู้สินค้าที่ทำการบรรจุหรือ เปิดใน เขตท่าเรือ หมายถึงตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งและ/หรือผู้รับหลายรายในตู้สินค้าเดียวกันซึ่งแต่ละรายจะมีสินค้าอยู่มากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่สินค้าทั้งหมดจะถูกนำไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน ความรับผิดชอบในการ บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและ/ หรือนำสินค้าออกจากตู้สินค้าในลักษณะนี้จะอยู่กับผู้รับการขนส่งซึ่งส่วนใหญ่
แล้วจะเป็นบริษัทเรือ บางครั้งในวงการเรือเรียกตู้สินค้าชนิดนี้ว่าเป็นตู้ CFS เพราะต้องมีการนำสินค้ามาผ่านโกดังจัดแยกชนิดสินค้าก่อนที่จะทำการบรรจุ ใส่ตู้สินค้าหรือ ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง

Full container load(FCL)ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าเจ้าของเดียว หมายถึงตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งและ/หรือผู้รับเป็นเจ้าของรายเดียว อยู่ในตู้สินค้าเดียวกัน ส่วนมากความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าในตู้สินค้า และ/หรือนำสินค้าออกจากตู้สินค้าจะอยู่กับผู้ส่ง
และ/หรือผู้รับนั้นๆ  บางครั้งในวงการเรือเรียกตู้สินค้าชนิดนี้ว่าเป็นตู้ CY เพราะสามารถรับและ/หรือส่งตู้ชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องผ่านโกดัง

Bagged cargo คือ สินค้าบรรจุถุง

Deck cargo คือ สินค้าที่บรรทุกบนปากระวาง

ที่มา : http://interrepcomplex.igetweb.com/?mo=3&art=146939   
          http://www.licdsrt.ob.tc/container%20word.html

Border Trade


Border Trade

Counter Trade (การค้าต่างตอบแทน) คือ การที่ประเทศหนึ่งตกลงซื้อสินค้าจากอีกประเทศหนึ่ง เป็นการตอบแทนที่ประเทศนั้นซื้อสินค้าหรือบริการของตน แทนการชำระเงินทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

Consumer durables (คงทนของผู้บริโภค)  คือ ในเศรษฐศาสตร์มีความทนทานดีหรือยากดีเป็นดีที่ไม่ได้สวมใส่ได้อย่างรวดเร็ว ออกหรือมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้สาธารณูปโภคในช่วงเวลาแทน ที่จะสมบูรณ์บริโภคในการใช้งาน รายการเช่นอิฐหรือเครื่องประดับที่อาจจะพิจารณาสินค้าคงทนที่ดีที่สุดเพราะ พวกเขาควรจะในทางทฤษฎีไม่เคยใส่ออก สินค้าคงทนสูงเช่นตู้เย็น , รถยนต์ , หรือโทรศัพท์มือถือมักจะดำเนินการต่อไปจะมีประโยชน์สำหรับสามปีหรือมากกว่าในการใช้งาน[ 1 ]ดังนั้นสินค้าคงทนมีลักษณะโดยทั่วไปเป็นระยะเวลานานระหว่างการสั่งซื้อต่อเนื่อง
     ตัวอย่างของสินค้าคงทนของผู้บริโภครวมถึงรถยนต์ของใช้ในครัวเรือน (เครื่องใช้ในบ้านอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเฟอร์นิเจอร์, ฯลฯ)อุปกรณ์กีฬาและของเล่น

Re-export หมายถึงของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต่อมาภายหลังผู้นำของเข้าได้ส่งของนั้นกลับออกไปยังต่างประเทศ โดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือลักษณะแต่ประการใด หรือของที่นำเข้ามาเพื่อเป็นของใช้สิ้นเปลืองสำหรับยานพาหนะที่เดินทางไป ต่างประเทศแล้วจะขอคืนอากรที่ได้ชำระไปกลับคืน

Import quota (การจำกัดสินค้าเข้า) เป็นการกำหนดโควต้าด้านปริมาณหรือมูลค่าของสินค้าที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ

Consumer goods (สินค้าเพื่อการบริโภค)  คือ สินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อการอุปโภคบริโภคเองในครอบครัว เพื่อตอบสนองความต้องการหรือสร้างความพึงพอใจแก่ตนเองหรือสมาชิกภายในครอบครัว แตกต่างจากสินค้าเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Goods) ที่ผู้ซื้อซื้อไป ใช้งานภายในองค์กร หรือซื้อไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ แล้วนำออกมาขายเพื่อแสวงหากำไร

Drawback คือ   ข้อเสียเปรียบในกฎหมายในการค้า , การ จ่ายเงินกลับหน้าที่จ่ายเงินก่อนหน้านี้ในการส่งออกที่ต้องเสียภาษีหรือบท ความเกี่ยวกับสินค้าจากต่างประเทศอีกครั้งการส่งออก วัตถุของข้อเสียเปรียบคือการปล่อยให้สินค้าที่อาจมีการจัดเก็บภาษีส่งออกและ จำหน่ายในต่างประเทศตามเงื่อนไขเช่นเดียวกับสินค้าจากประเทศที่พวกเขาจะไม่ ต้องเสียภาษี ซึ่งแตกต่างจากความโปรดปรานในการที่โปรดปรานจะช่วยให้สินค้าที่จะขายในต่าง ประเทศที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนของพวกเขาก็อาจจะเกิดขึ้น แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้เสียเปรียบมีผลเท่ากับว่าของโปรดปราน

Black market ตลาดมืด คือภาวะที่มีการซื้อขายสินค้าในราคาสูงกว่าที่รัฐกำหนดไว้ การกระทำดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายแม้ว่าตัวสินค้าจะถูกกฎหมายก็ตาม
ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดตลาดมืดก็คือ การที่รัฐตั้งเพดานราคาไว้นั่นเอง เนื่องจากเพดานราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นซึ่งเป็นราคาที่ทำให้สินค้ามี อยู่ในตลาดพอดี ไม่ล้นหรือขาดตลาด ซึ่งเศรษฐศาสตร์เรียกราคานี้ว่าราคาดุลยภาพและการที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นนี้ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์มีมากกว่าปริมาณความต้องการขายหรือ อุปทานจึงเกิดภาวะสินค้าขาดตลาด และเนื่องจากสินค้ามีอยู่น้อยก็เลยทำให้ผู้ซื้อซึ่งต้องการสินค้านี้แย่งกัน ซื้อสินค้าจนยอมซื้อสินค้าที่ราคาสูงกว่าที่รัฐกำหนด

Agribusiness ธุรกิจการเกษตร หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนับตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิต การผลิตสินค้าเกษตรในระดับฟาร์ม การเก็บรักษา การแปรรูปสินค้าเกษตร และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและผลิตผลพลอยได้ ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทุกประเภทถือว่าเป็นธุรกิจการเกษตรทั้งสิ้น

Embargo   การห้ามส่งสินค้าหมายถึง การห้ามไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งทำการติดต่อค้าขายโดยการส่งสินค้าไปขายหรือสั่งซื้อสินค้า โดยถือว่าประเทศนั้นเป็นศัตรูของตน คำสั่งห้ามค้านี้ส่วนใหญ่จะใช้ในภาวะของสงครามและการกระทำกับประเทศคู่สงคราม หรือบางครั้งก็อาจมีคำสั่งในช่วงภาวะปกติไม่ใช่สงคราม เป็นภาวะชั่วคราวของการกีดกันทาง การค้าเพื่อหวังผลกดดันทางการเมือง

Import licence ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า เป็น เอกสารที่ออกโดยรัฐบาลแห่งชาติอนุญาตการนำเข้าสินค้าบางอย่างลงในอาณาเขตของ ตน ใบอนุญาตนำเข้าจะถือว่าเป็นอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีการค้าเมื่อนำมาใช้เป็นวิธี การเลือกปฏิบัติต่อสินค้าของประเทศอื่นเพื่อที่จะปกป้องอุตสาหกรรมภายใน ประเทศจากการแข่งขันต่างประเทศ ใบอนุญาตแต่ละระบุปริมาณการนำเข้าที่ได้รับอนุญาตและการอนุญาตให้ใช้ปริมาณ ทั้งหมดไม่ควรเกินโควตา

Foreign market value (FMV) มูลค่าตลาดต่างประเทศ

Gray market goods ตลาดสีเทา เป็นตลาดของผลิตภัณฑ์แท้ที่นำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายและกติกา เพียงแต่ผู้นำเข้า(ตลอดจนผู้ส่งออกจากประเทศต้นทาง) นั้นมักจะไม่ใช่ผู้ที่บริษัทแม่ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการจะให้ดำเนินการ และบางกรณีเข้าข่ายละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า

Delivered at frontier หมายถึง ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้า ณ เขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ ยังไม่ผ่านเขตแดนอีกฝ่ายผู้ขายต้องผ่านพิธีการส่งออก แต่ไม่ต้องผ่านพิธีการขาเข้า ไม่ต้องขนส่งสินค้าลงจากยานพาหนะ ความหมายคำว่า เขตแดน อาจจะใช้กับเขตแดนประเทศใดๆ ก็ได้รวมถึงประเทศผู้ส่งออก ดังนั้นชื่อสถานที่ดังกล่าวควรระบุให้ชัดเจนว่า ณ จุดใด สถานที่ใด

Foreign direct investment (FDI) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หมายถึงเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากการลงทุนที่จะได้รับความสนใจการจัดการที่ยั่งยืน (ร้อยละ 10 หรือมากกว่าของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง) ในการดำเนินงานขององค์กรในทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กว่าที่ของผู้ลงทุน [ 1 ]มันเป็น ผลรวมของทุนการลงทุนใหม่ของรายได้ของเงินทุนระยะยาวอื่นและเงินทุนระยะสั้นตามที่แสดงในที่สมดุลของการชำระเงิน

Primary commodity สินค้าหลัก คือ สิ่งที่สามารถนำเสนอขายให้แก่ตลาดเพื่อให้เกิดความพอใจ ความต้องการเป็นของเจ้าของ เรียกให้มีการซื้อ การใช้  หรือการบริโภค  ซึ่งเป็นสิ่งที่ (อาจจะ) ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของผู้ซื้อให้ได้รับความพอใจ


          http://www.agbus.eco.ku.ac.th/2554/What%20is%20agribusiness.pdf

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ศัพท์ที่ควรรู้

 
Financial Document (เอกสารทางการเงิน)

1.Bill of Exchange (ตั๋วแลกเงิน)  เป็นตราสารที่ผู้ออกตราสาร (ผู้ออกตั๋ว) สั่งให้บุคคลหนึ่ง (ผู้จ่ายเงินตามตั๋ว) จ่ายเงินให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับเงินตามตั๋ว)

2.  Draft (ดราฟต์) คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์

3.  Cheque (เช็ค) เป็นตราสารที่บุคคลผู้ออก (ผู้สั่งจ่าย) สั่งธนาคาร (ที่ตนมีบัญชีอยู่) ให้จ่ายเงินจำนวนตามที่ระบุแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง (ผู้รับเงิน)

4. Bill of Collection (B/C)  คือเอกสารเรียกเก็บเงินลูกค้า เมื่อผู้ส่งออกส่งของไปยังผู้นำเข้าอีกที่หนึ่ง เขาก็จะผ่านตัวกลางของธนาคาร ซึ่งถ้าเป็นการซื้อขายแบบเสี่ยงที่สุดก็จะไม่มีเอกสารให้ดูส่งไปแล้วไปรับ เลย แต่พอเป็นลักษณะของ B/C นั้นก็จะมีเอกสารอยู่ 2 ชนิด คือ Document Against Payment (D/P) และ Document Against Acceptance (D/A) โดย D/P หมายถึงว่าผู้นำเข้าก็ต้องยอมจ่ายตังก่อนแล้วค่อยเอาของไปได้ ส่วน D/A เป็นลักษณะยังไม่จ่ายหรอกแค่ขอ Credit ไปก่อนว่าจะเอาไปกี่วันๆแล้วค่อยเอามาจ่ายที่หลัง ถามว่าอะไรเสี่ยงกว่าก็แน่นอน D/A ก็ต้องเสี่ยงกว่า D/P

5. Bonds (พันธบัตร) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน

6.  Stock (หุ้นทุน) คือ เป็นเอกสารเครดิต ที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจที่ทำการออกหุ้น จะกำหนดจำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้นไว้ สามารถโอนเปลี่ยนมือได้
หุ้นทุนหรือหุ้นสามัญ (Common Stock) คือหน่วยของความเป็นเจ้าของ ในบริษัท สหกรณ์ หรือกิจการอื่นที่ระบุให้แบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของเป็นหุ้นตามสัดส่วนจำนวน หุ้นที่มีถืออยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของ หุ้นที่ถือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่กิจการออกทั้ง หมด จะมีสิทธิ์ตั้งฝ่ายจัดการของกิจการได้
หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือหุ้นที่มีความเป็นเจ้าของ ผสมกับความเป็นเจ้าหนี้ด้วย โดยที่ถ้าบริษัทนั้นๆต้องเลิกกิจการลง ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

Transport Document (เอกสารการขนส่ง)

1. Bill of Lading: (ใบตราสารส่งสินค้า) เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ทำการขนส่งสินค้า (Shipping Company) ออกให้แก่ผู้จัดส่ง (Shipper) ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าตนได้รับมอบสินค้าไว้เพื่อทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งตามที่กำหนด

2. Airway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ) เป็นเอกสารการส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อจัดส่งสินค้าจากท่าอากาศยานของผู้ผลิตไปส่งมอบให้ท่าอากาศยานผู้บริโภค   เป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น

3. Railway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ) เป็นเอกสารที่ออกโดยการรถไฟ ใช้เป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าจากผู้ส่งออกเพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางในต่างประเทศแล้ว

4. Roadway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางถนน)

5. Certificate of Posting (ใบรับรองการโพสต์)

6.  CMR ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่าการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การ แข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ ความจงรักภักดีในที่สุด

7.  TIR

Commercial Document (เอกสารพาณิชย์)

1. invoice (ใบกำกับสินค้า) คือ เอกสารแสดงถึงลักษณะของสินค้า ปริมาณราคา เงื่อนไข การชำระเงิน วิธีการขนส่งสินค้าและลักษณะอื่นๆ ของสินค้าที่ขายสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

2. packing list (ใบรายการบรรจุหีบห่อ) เป็นเอกสารที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้ทราบถึงการบรรจุสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าปกติเจ้า หน้าที่ศุลกากรจะใช้วิธีการสุ่มตรวจตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่ทำการตรวจสินค้าทั้งหมดด้วยการเปิดหีบห่อ ซึ่งอาจทำให้บรรจุภัณฑ์และสินค้าเกิดการเสียหายหรือสูญหายได้ ดังนั้น ใบรายการบรรจุหีบห่อควรรายละเอียดให้เพียงพอ

3. weight list (ใบแสดงรายการน้ำหนักสินค้า) เป็นใบแสดงรายละเอียดน้ำหนักของสินค้าแต่ละหน่วย (Unit Weight) ซึ่งแตกต่างจาก Certificate of Weight ซึ่งแสดงน้ำหนักของสินค้าทั้งจำนวน

4. certificate of origin (ใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า)  เป็นใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า ว่าสินค้านั้นๆ มีกำเนิดในประเทศใด ตามปกติแล้วจะนิยมให้สภาการค้า (Chamber of Commerce) ของประเทศผู้ส่งสินค้าเป็นผู้ออกให้ วัตถุประสงค์ในการใช้เอกสารนี้ ก็โดยเหตุที่บางประเทศเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีสนธิสัญญาในเรื่องภาษีต่อกันต่ำกว่าสินค้าจากประเทศอื่น หรือห้ามสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเข้าประเทศของตน

5. health certificate (ใบสำคัญแสดงความสมบูรณ์ของสินค้า)  เป็นเอกสารที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของสินค้า สินค้าบางชนิดจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ซึ่งต้องการคำรับรองว่า มีความสมบูรณ์ปราศจากโรครบกวน

6. inspection certificate ( ใบรับรองการตรวจสอบ )  ผู้ซื้อบางรายต้องการใบรับรองการตรวจสอบ เพื่อแน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผู้ส่งออกต้องจัดการ เรื่องเหล่นี้ให้ลูกค้าของตนเอง

7. insurance certificate (ใบรับรองการประกันภัย) การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ คือสินค้าได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หลักฐานเอกสารที่สำคัญก็คือ สัญญาประกันภัย ที่เรียกว่า กรมธรรม์ เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันตกลงยินยอมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันตามอัตราที่ตกลงกัน

8. phytosanitary certificate (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด) เป็นเอกสารที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์จากพืชที่ส่งออกนั้นปลอดจากโรคพืช และศัตรูพืช ซึ่งจะใช้กับสินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าวโพดเลียงสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ สินค้าอบแห้งบางชนิดที่แมลงชอบไต่ตอม เป็นต้น
9. fumigation certificate (ใบรับรองรมควัน) สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี

10. certificate of analysis (ใบวิเคราะห์สินค้า)เป็นเอกสารแสดงการตรวจสอบสินค้าทางวิทยาศาสตร์ ให้ทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสินค้าและให้การรับรองเป็นเอกสาร ถ้าเป็นอาหารที่บริโภคได้ก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษตามหลักเกณฑ์สากล หรือมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด ถ้า
เป็นเคมีภัณฑ์ก็แยกออกมาให้ทราบถึงส่วนผสมที่มีอยู่ เพื่อสะดวกแก่การนำสินค้าดังกล่าว
เข้าประเทศ

11. sanitary certificate (ใบรับรองการตรวจสอบอาหารที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง)ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนดด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น

12.  Entreport Certificates (ใบรับรอง Entreport)

13.  Shipping Line Certificates (ใบรับรองสายการจัดส่งสินค้า)

14.  Measurement Certificates (ใบรับรองการวัด)


          http://www.phoenix-logistic.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=4
          http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1263:-export-document-&catid=39:import-export&Itemid=85