วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

International organization

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรระหว่างประเทศ
  1. (The United Nations:  UN)    องค์การสหประชาชาติ 
  2. (United Nations High Commissioner for Refugees:  UNHCR)    สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
  3. (International Labour Organization:  ILO)    องค์การแรงงานระหว่างประเทศ  
  4. (World Health Organization:  WHO)    องค์การอนามัยโลก
  5. (International Bank for Reconstruction and Development:  IBRD)    ธนาคารโลก หรือ ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ 
  6. (European Economic Community:  EEC)    สหภาพยุโรป พัฒนามาจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรป 
  7. (Economic Cooperation Organization: ECO)    องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
  8. (Islamic Educational, Scientific and Cultural Organization: ISESCO)    องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมอิสลาม    
  9. (South Asian Association for Regional Cooperation-SAARC)    สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้
  10. (African Union-AU)    สหภาพแอฟริกา
  11. (The European Free Trade Associatation: EFTA)    สมาคมการค้าเสรียุโรป 
  12. (The North Atlantic Organization: NATO)    องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
  13. (The Associatation of South East Asian Nations: ASEAN)    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  14. (The Organization of Petroleum Exporting Countries: OPEC)    องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก 
  15. (The Organization of African Unity: OAU)    องค์การเอกภาพแอฟริกา 
  16. (The Latin American Integration Association: LAIA)    สมาคมรวมลาตินอเมริกา 
  17. (The African-Caribbean-Paciific: ACP)    กลุ่มประเทศแอฟริกา-แคริบเบียน-แปซิฟิก 
  18. (The Organization for Econonmic Co-operation and Development: OECD)    องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา 
  19. (ASEAN INTERNATIONAL AIRPORT ASSOCIATION-AAA)    สมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศแห่งอาเซียน
  20. (INTERNATIONAL AIRTRANSPORT ASSOCIATION-IATA)    สมาคมผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
  21. (ACMECS)  Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economics Strategy กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
  22. (GMS)  Greater Mekong Sub-Region Economic Cooperation โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง
     
 ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=830.0
           http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/
           http://www.skoolbuz.com/library/content/1391         
        

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Incoterms

(International Commercial  Terms : INCOTERMS)

INCOTERMS นั้นย่อมาจากคำเต็มว่า INternational COmmercial TERMS เป็น กฏข้อตกลงทางการค้าที่กล่าวในเรื่อง สิทธิ และความรับผิดชอบของระหว่างผู้ซื้อ และและผู้ขาย ในกระบวนการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวการส่งมอบสินค้าจากผู้ขาย ไปให้ผู้ซื้อว่าแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้างในการส่งมอบ ตลอดจนถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่างๆ และความรับผิดชอบในเรื่องความเสียหายของสินค้าดังกล่าวหากเกิดขึ้นกฏINCOTERMSนั้นต้นตำหรับในการออกกฏก็คือICCหรือ International Chamber of Commerce ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุง Paris ในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศหนึ่งในด้านการกำหนดเป็นสถานที่จัดส่งสินค้าสถานที่ก่อนหน้านี้ตกลงระหว่างผู้นำเข้าและส่งออกที่จะต้องระบุไว้ในสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศINCOTERMS2010 อำนวยความสะดวกโดยชัดเจนการกำหนดสถานที่ส่งผู้รับผิดชอบการขนส่งไปยังสถานที่ส่งมอบที่จะถือว่าความเสี่ยงและจุดที่ความเสี่ยงจากการส่งออกผ่านไปยังผู้นำเข้าที่ศุลกากรล้างสินค้านำเข้า/ภาระการส่งออกและที่สำคัญอีกมากมายIncoterms 2010 จำนวนกฎ Incoterms ได้รับลดลง 13 - 11 Incoterms ใหม่: DAT และ DAP Incoterms แทนที่ : DAF, DES, DEQ และ DDU 
Incotermsส่งไปที่แหล่งกำเนิดสินค้า : EXW,FCA,FAS,FOB,CPT,CIP,CFR,CIF
Incoterms ส่งที่ปลายทาง : DAT DAP DDP   

เทอม 11 เทอมมีดังนี้ 

       1.  EXW (Ex Work)                                              
       2.  FCA (Free Carrier)
       3.  FAS (Free Alongside Ship)
       4.  FOB (Free On Board)
       5.  CFR (Cost and Freight)
       6.  CIF (Cost Indurance and Freight)
       7.  CPT (Carriage Paid To)
       8.  CIP (Carriage and Insurance Paid To)
       9.  DAT (Delivered at Terminal)
      10.  DAP (Delivered at Place)
      11.  DDP (Delivered Duty Paid)
   
                1.       EXW...(ชื่อสถานที่)
หมายถึงผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่/ภาระในการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ทำการส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ ที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ณ โรงเก็บสินค้า, โกดัง สินค้า ให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ขายไม่ต้องรับภาระในการบรรทุกสินค้าใส่ยานพาหนะที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อการขนส่งจากผู้ซื้อ รวมถึงไม่ต้องยุ่งเกี่ยวใน เรื่องการผ่านพิธี การศุลกากรขาออก (นอกจากว่าได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น)ผู้ซื้อต้องรับหน้าที่/ภาระในค่าใช้จ่ายและความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ได้รับสินค้าจากผู้ขายไปจนถึงปลายทาง ดังนั้นเทอมนี้ผู้ขายมีหน้าที่/ภาระรับผิดชอบน้อยที่สุดและเทอมนี้ไม่ควรใช้หากผู้ซื้อไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับ พิธีการขาออกได้เองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม หากเป็นเช่นนี้ควรตกลงกันในเทอม FCA จะเหมาะกว่า 
2.     FCA...(ชื่อสถานที่ต้นทาง)
หมายถึงผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่/ภาระส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ทำการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก และส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่ ผู้รับขน (Carrier) ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ณ สถานที่/จุด ที่ระบุไว้หากสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ตกลงกันไว้ชัดเจนผู้ขายสามารถถือเอาเมื่อผู้รับขนได้รับ สินค้าดังกล่าวไว้ในการครอบครองแล้วตามวิธีปฏิบัติในการค้าเมื่อผู้ขายได้ทำสัญญากับผู้รับขนแล้วก็ถือว่าสิ้นสุดความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายของผู้ขายเทอมนี้สามารถใช้กับวิธีการขนส่งหลายทุกรูปแบบ
        3.   FAS...(ชื่อท่าเรือต้นทาง)
หมายถึงผู้ขายจะสิ้นสุดการรับผิดชอบเมื่อการส่งมอบสินค้าให้ ณ ข้างกราบเรือที่จะขนส่งที่ท่าเรือหรือในเรือลำเลียงณท่าเรือที่ขนส่ง ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบดังกล่าวเทอมFASนี้ผู้ขายจะเป็นฝ่ายผ่านพิธีการ ศุลกากรขาออก(จุดนี้เป็นจุดที่แตกต่างไปจากIncoterms1990) เทอมนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น 
        4.   FOB...(ชื่อท่าเรือต้นทาง)
หมายถึงผู้ขายจะสิ้นสุดภาระรับผิดชอบเมื่อส่งมอบสินค้าผ่านกราบเรือไปแล้ว ณ ท่าเรือต้นทางดังกล่าว ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆ และความเสียหายของสินค้าเริ่มจากจุดส่งมอบ ดังกล่าวในการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกเป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่ายดำเนินการเทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้นและหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกราบเรือ เช่นการใช้ตู้Containerหรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อเลื่อน ให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ ควรหันไปใช้เทอม FCA จะเหมาะกว่า  
        5.    CFR...(ชื่อท่าเรือปลายทาง)
หมายถึงผู้ขายต้องทำการชำระค่าใช้จ่าย และค่าระวางเรือที่ใช้ขนส่งสินค้า จากต้นทางไปยังปลายทาง แต่ความเสี่ยงหากสินค้าเสียหาย รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากสินค้าได้บรรทุกลงเรือแล้วจะเป็นภาระ/หน้าที่ผู้ซื้อนับจากสินค้าได้ถูกยกผ่านกราบเรือณ ท่าเรือดังกล่าวไปเทอมนี้ผู้ขายจะเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่ง ทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น และหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกราบเรือเช่นการใช้ตู้ Container หรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อเลื่อนให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ควรหันไปใช้เทอม CPT จะเหมาะกว่าเทอมนี้ยังมักจะมีการใช้อักษรเป็น C&F หรือ CNF หรือ C AND F อยู่ซึ่งการย่อดังกล่าวเค้าเลิกใช้กันแล้วน่ะ 
        6.   CIF...(ชื่อท่าเรือปลายทาง)
หมายถึงผู้ขายมีภาระหน้าที่เหมือนกับเทอมCFRเพียง แต่เพิ่มการทำประกันภัยทางทะเลให้แก่ความเสียหายของ ผู้ซื้อสำหรับสินค้าที่อาจจะเกิดเสียหายระหว่างการขนส่ง ผู้ขายเป็นฝ่ายติดต่อทำประกันภัยและจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยผู้ซื้อควรตระหนักไว้ว่าเทอมนี้ผู้ขายมีภาระจัดหาประกันภัยในเงื่อนไขประกันภัยต่ำที่สุดหากมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นและผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น และหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกาบเรือ เช่นการใช้ตู้ Container หรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อเลื่อนให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ควรหันไปใช้เทอม CIP จะเหมาะกว่า  
        7.   CPT...(ชื่อสถานที่ปลายทาง)
หมายถึง ผู้ขายเป็นฝ่ายชำระค่าระวางเรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางหากสินค้าเกิดเสียหายขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากสินค้าได้ถูกส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่งแล้ว จะเป็นภาระหน้าที่ของผู้ซื้อเทอมนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้สามารถใช้กับการขนส่งทุกรูปแบบรวมถึงการขนส่งหลายรูปแบบในคราวเดียวกัน 
        8.    CIP...(ชื่อสถานที่ปลายทาง)
หมายถึงผู้ขายมีภาระ/หน้าที่เหมือนเทอมCPTเพียง แต่เพิ่มการทำประกันภัยสินค้าให้แก่ความเสี่ยงของผู้ซื้อ สำหรับสินค้าที่เกิดเสียหายระหว่างการขนส่งผู้ขายเป็นฝ่ายติดต่อทำประกันภัยและจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยผู้ซื้อควรตระหนักไว้ว่าเทอมนี้ผู้ขายมีภาระจัดหาประกันภัยในเงื่อนไขประกันต่ำที่สุดหากมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น และผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมถึงการขนส่งหลายรูปแบบในคราวเดียวกัน  
        9.  DAT (Delivered at Terminal ส่งมอบในเทอร์ม)
อาจจะใช้สำหรับทุกโหมดการขนส่งผู้ขายส่งมอบสินค้าเมื่อมีการวางไว้ในการกำจัดของผู้ซื้อที่หมายถึงการมาถึงของการขนส่งพร้อมสำหรับการขนถ่าย  สถานที่ปลายทางที่ระบุภาคีควรระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่ทำได้จุดภายในสถานที่ที่ตกลงกันของปลายทาง เนื่องจากการถ่ายโอนความเสี่ยงในจุดนี้จากผู้ขายให้กับผู้ซื้อถ้าผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการล้างสินค้าการจ่ายเงินหน้าที่พิจารณาฯลฯควรได้รับ การใช้คำ DDP 
      10.     DAP (Delivered at Place ส่งมอบในสถานที่)
อาจจะใช้สำหรับทุกโหมดการขนส่งเมื่อสินค้าขาย,ยกเลิกการโหลดหนึ่งครั้งจากหมายถึงการขนส่งจะอยู่ที่การจำหน่ายของผู้ซื้อที่สถานีที่มีชื่อณท่าเรือหรือสถานที่ปลายทาง "คลัง"หมายความรวมถึง Quays, โกดัง, ลานภาชนะ บรรจุหรือถนนทางรถไฟหรือสถานีอากาศ ทั้งสองฝ่ายควรตกลงมินัลและถ้าจุดภายในอาคารผู้โดยสารที่เป็นไปได้ที่จุด เสี่ยงที่จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อสินค้า ถ้ามันมีจุดมุ่งหมายที่ผู้ขายจะต้องรับต้นทุนและความรับผิดชอบทั้งหมดจากท่าเรือไปยังอีกจุด DAP หรือ DDP อาจใช้  
     11.  DDP...(ชื่อสถานที่ปลายทาง)
หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระ/หน้าที่ในการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าได้ส่งมอบให้ ณ จุด/สถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ในประเทศผู้ซื้อโดยรับผิดชอบความเสียหายในสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียม ภาษี หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการส่งมอบสินค้าจนถึงปลายทางรวมถึงการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า เทอมนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ
     
   ที่มา :  http://reocities.com/SouthBeach/surf/7846/INCOTERMS/incoterms.html
        http://th.reingex.com/Incoterms.asp